1. ระบบกําจัดฝุ่นและการระบายอากาศ
หนังสือ ระบบกําจัดฝุ่นและการระบายอากาศ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้นให้เป็นหนังสือที่ผู้อ่านสามารถใช้เป็นคู่มือสําหรับการออกแบบระบบกําจัดฝุ่นหรือระบบระบายอากาศ โดยในที่นี้จะเน้นในกรณีของระบบระบายอากาศเฉพาะจุดเท่านั้น เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือนี้ได้รวบรวมจากหนังสือและบทความทางวิชาการจํานวนหนึ่งตามที่ปรากฏในบรรณานุกรม ในการเรียบเรียงนี้จัดเรียงเนื้อหาให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้รวมถึงพยายามใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทําความเข้าใจ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 9 บทดังนี้ บทที่ 1 เป็นการกล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นของระบบระบายอากาศ รวมถึงพื้นฐานความรู้ที่ผู้อ่านจําเป็น ต้องทราบ บทที่ 2 เป็นรายละเอียดของการออกแบบหัวดูดซึ่งถือเป็นส่วนประกอบที่สําคัญที่สุดของระบบกําจัด ฝุ่นหรือระบบระบายอากาศเฉพาะจุด บทที่ 3 จะอธิบายถึงการหาค่าการสูญเสียความดันของอากาศในระบบท่อ รวมถึงแนวทางในการ ออกแบบและเลือกใช้ระบบท่อ บทที่ 4 จะเป็นการแนะนําให้ทราบถึงชนิดและหลักการทํางานของเครื่องแยกสารปนเปื้อนที่ใช้ใน ระบบระบายอากาศเฉพาะจุดซึ่งจะยังไม่กล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบ บทที่ 5 จะกล่าวถึงวิธีการออกแบบระบบระบายอากาศเฉพาะจุด โดยบททนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนสําคัญ หรือเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ บทที่ 6 และบทที่ 7 จะกล่าวถึงรายละเอียดของเครื่องดักฝุ่นแบบผ้ากรองและไซโคลนดักฝุ่นตาม ลําดับ โดยจะเน้นถึงวิธีออกแบบรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 4 บทที่ 8 มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพัดลมที่ใช้ในระบบระบายอากาศทั้งในแง่มุมของชนิดและการเลือกใช้ บทที่ 9 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายจะอธิบายถึงการทดสอบระบบระบายอากาศ โดยจะกล่างถึงทั้งเครื่องมือที่ ใช้ในและวิธีการทดสอบ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาในเบื้องต้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สารบัญ บทที่ 1 แนวคิดเบื้องต้น บทที่ 2 หัวดูด บทที่ 3 ระบบท่อ บทที่ 4 เครื่องแยกสารปนเปื้อน บทที่ 5 การออกแบบระบบระบายอากาศเฉพาะจุด บทที่ 6 เครื่องดักฝุ่นแบบผ้ากรอง บทที่่ 7 ไซโคลนดักฝุ่น บทที่ 8 พัดลม บทที่ 9 การทดสอบระบบระบายอากาศ ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ค.1 กลไกการไหลของอากาศ ค. 2 ข้อกําหนดสําหรับความเข้มข้นของสารปนเปื้อน ค. 3 เงื่อนไขการใช้งานระบบระบายอากาศแบบเจือจาง ค. 4 รูปแบบการใช้งานระบบระบายอากาศแบบเจือจาง ค. 5 ปริมาณอากาศที่ต้องการ ค. 6 การคํานวณเกี่ยวกับระบบระบายอากาศแบบเจือจาง บรรณานุกรม NoBrand